วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมาของแร่


แร่

     มนุษย์รู้จักนำทรัพยากรของโลกมาผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆตั้งแต่อดีตกาล โดยมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆเหล่านั้นขึ้นมาเป็นลำดับการเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพยากรอย่างหนึ่งที่มนุษย์นำมาใช้ผลิตก็คือ แร่
1.1 แหล่งแร่ในประเทศไทย













        ประเทศไทยมีแหล่งแร่ที่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ แร่ดีบุก แร่ทังสเตน แร่พลวง และแร่ฟลูออไรด์ ในอดีตแร่เป็นสินค้าออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย แต่ปัจจุบันแร่หลายชนิดมีจำนวนน้อยลงจึงหยุดการผลิต และบางส่วนก็ได้แปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจแหล่งแร่และจัดทำแหล่งแร่ ดังภาพ 
       ประเทศไทยมีแหล่งแร่ชนิดต่าง ๆกระจายอยู่ทั่วไป ที่จัดเป็นกลุ่มแร่ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ดีบุกพบมากทางภาคใต้ ในจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎ์ธานี นครศรีธรรมราช? นอกจากนั้นยังพบในจังหวัดอื่น ๆอีก เช่น กาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงรายเหล็ก พบมากที่เขาทับควาย อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ภูเหล็ก ภูเฮี๊ยะ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใยหิน พบมากที่ม่อนไก่แจ้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ รัตนชาติ พบมากที่จังหวัดจันทบุรี ตราด และกาญจนบุรี ทองคำ พบมากที่บ้านบ่อทอง จังหวัดปราจีนบุรี บ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งทองโต๊ะโม๊ะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันพบแหล่งแร่ทองคำที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ในระดับค่อนข้างสูงที่บริเวณรอยต่อระหว่างตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบูรณ์ และบริเวณอำเภอเชียงคาน อำเภอปากชม จังหวัดเลย นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแร่อื่น ๆอีก แต่ปริมาณไม่มากพบในเชิงพาณิชย์และเศรษฐกิจ

ลักษณะทางกายภาพของแร่บางชนิด














               การจากศึกษาลักษณะที่ปรากฏเปรียบเทียบกับข้อมูลทางกายภาพของแร่จากตาราง ช่วยให้สามารถระบุชนิดของแร่ได้ การศึกษาลักษณะของแร่เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้จำแนกแร่ได้ระดับหนึ่ง นอกจากนั้นยังอาจจำแนกและสังเกตความแตกต่างของแร่ได้จากรูปผลึก รอยแตก และความถ่วงจำเพาะของแร่? แร่เป็นธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมีที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด มีสถานะเป็นของแข็ง แร่ที่พบมากบนเปลือกโลกทั้งบนพื้นทวีปและพื้นมหาสมุทร ส่วนใหญ่จะพบแทรกกระจายอยู่ในหินชนิดต่าง ๆ เรียกว่า แร่ประกอบหิน แร่ประกอบหินที่มักจะพบทั่วไป ได้แก่ แร่ควอตซ์ แร่เฟลด์สปาร์ แร่ไมกา แร่ฮอร์นเบลนด์ เป็นต้น แร่ประกอบหินส่วนมากไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ เพราะกระจายอยู่ในเนื้อหินยากต่อการสกัดนำมาใช้ แต่ถ้สเกิดเป็นปริมาณมาก เช่น เป็นสายแร่อาจนำมาใช้ได้ ส่วนใหญ่แร่ประกอบหินจะใช้เพื่อจำแนกชนิดของหิน เช่นแร่โอลิวีน มักพบในหินภูเขาไฟ แร่โอลิวีนที่เกิดเป็นผลึกสวยไม่มีตำหนิจัดเป็นแร่รัตนชาติ เรียกว่า เพริด็อต (peridot) แร่การ์เนต? มักจะเกิดเป็นผลึกสวย ถ้ามีปริมาณของเหล็กสูงจะมีสีแดงเข้ม เรียกว่าโกเมน ใช้ทำเครื่องประดับ ส่วนการ์เนตที่ผลึกไม่สวย นิยมใช้ทำกระดาษทรายหรือผงขัด เนื่องจากเป็นแร่ที่มีความแข็งสูง
แร่ควอตซ์ก็จัดเป็นรัตนชาติอย่างหนึ่งเช่นกัน มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกัน เช่น ควอตซ์สีม่วงใส เรียกว่า แอเมทิสต์ หรือพลอยสีดอกตะแบก ถ้าควอตซ์มีผลึกใสอยู่รวมกัน เรียกว่า โป่งข่าม ซึ่งมักจะมีมลทินของแร่รูปแบบต่าง ๆอยู่ภายใน ควอตซ์บางชนิดมีรูปผลึกละเอียด เนื้อเนียนและเป็นแถบสีสลับกัน เรียกว่า อะเกต หรือโมรา ส่วนโอปอ เป็นแร่ที่มีส่วนประกอบเหมือนควอตซ์ แต่มีน้ำปนอยู่ภายในเนื้อ มีสมบัติเล่นสีเป็นเหลือบสีต่าง ๆ
สำหรับรัตนชาติที่สำคัญและมีชื่อของไทย ได้แก่ พลอยตระกูลคอรันดัม ถ้ามีสีแดงเรียกว่าทับทิม ถ้ามีสีน้ำเงิน เรีบกว่าไพลิน ถ้ามีสีเหลืองเรียกว่าบุษราคัมหรือพลอยน้ำบุษย์ นอกเหนือจากสีเหล่านี้ ให้เรียกชื่อตามสีที่ปรากฏ เช่น สีเขียว เรียกว่าแซฟไฟร์สีเขียว (Blue Sapphire) หรือที่คนไทยเรียกว่า เขียวส่อง เพชร เป็นรัตนชาติที่สำคัญและมีราคาแพงมาก ในประเทศไทยพบน้อยมาก โดยพบปนกับลานแร่ดีบุกและทะเลอันดามัน บริเวณจังหวัดภูเก็ตและพังงา
ชนิดและประโยชน์ของแร่ 
        แร่ส่วนใหญ่ที่พบบนเปลือกโลกประกอบด้วยธาตุหลักเพียง 8 ธาตุ? ได้แก่ ออกซิเจน ซิลิคอน อะลูมิเนียม เหล็ก แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เราจึงสามารถจำแนกแร่อย่างเป็นระบบตามส่วนประกอบทางเคมีเป็นกลุ่มได้มากกว่าสิบกลุ่ม แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะชนิดของแร่ที่นำมาใช้ประโยชน์ซึ่งจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้
แร่โลหะ เกิดจากโลหะทำปฏิกิริยากับธาตุอโลหะ เช่น ออกซิเจน กำมะถัน และคลอรีน เป็นต้น? ดังนั้นการนำไปใช้งานจึงต้องแยกโลหะออกเป็นสารบริสุทธิ์ก่อน เรียกว่าการถลุงแร่ เช่นการถลุงเหล็ก การกระบอนการแยกเหล็กออกและทำเหล็กบริสุทธิ์ เมื่อถลุงแร่โลหะต่าง ๆแล้ว จะได้โลหะเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเป็นชิ้นงานต่อไป


แหล่งแร่และประโยชน์ของแร่โลหะชนิดต่าง ๆที่พบในประเทศไทย















          แร่อโลหะ เป็นแร่ที่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องแยกหรือทำให้บริสุทธิ์ก่อน แต่อาจมีการแปรรูปได้
แหล่งและประโยชน์ของแร่อโลหะชนิดต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย


ชนิดแร่
แหล่งแร่ที่พบ
ประโยชน์
ใยหิน
พบน้อยมากที่จังหวัดอุตรดิตถ์และนราธิวาส เป็นชนิดหนึ่งของแร่เซอร์เพนทีน มีรูปผลึกเป็นเส้นใยยาว
ใช้ทำผ้าทนไฟ ผ้าเบรก กระเบื้องมุงหลังคาวัสดุกันความร้อน
ดินขาว
พบที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และปราจีนบุรี
ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา ถ้วยชาม อิฐ กระเบื้อง กระดาษ ยาง และสี
เกลือหิน
พบที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ และที่จังหวัดนครราชสีมา สกลนคร และมหาสารคาม
เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์ ใช้ในอุตสาหกรรมถลุงแร่ ทำสบู่ สีย้อมปุ๋ย และใช้ฟอกหนัง
รัตนชาติ ที่พบในประเทศไทยมีหลายแบบ
-พลอยคอรันดัม ได้แก่ ทับทิม และแซปไฟร์ สีต่าง ๆ


-เพชร


-พลอยตระกูลควอตซ์

พบที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และบ้านบ่อแก้ว จังหวัดแพร่ ซึ่งส่วนมากพบพลอยสีน้ำเงิน (ไพลิน)

พบน้อยมาก ที่เคยพบจะปนอยู่ในลานแร่ดีบุกและในทะเลบริเวณอ่าวพังงาและจังหวัดภูเก็ต

พบที่จังหวัดจันทบุรี ตราด กาญจนบุรี ลำปาง ลำพูน และลพบุรี

ใช้ทำเครื่องประดับ ใช้ในอุตสาหกรรม นาฬิกา และการขัดถู


ใช้ทำเครื่องประดับ และใช้เป็นหัวเจาะ และทำผงกากเพชร

ใช้ทำเครื่องประดับ อุตสาหกรรม นาฬิกา และผงขัดต่าง ๆ
ยิปซัม
พบที่อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอบ้านนาสาน จังหวัดสุราษฏร์ธานี และที่จังหวัดพิจิตร
ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ แผ่นยิปซัมบอร์ด ชอล์ก กระดาษ และปุ๋ย


เชื้อเพลิงธรรมชาติ
















          เชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นทรัพยากรที่สำคัญในอุตสาหกรรมและการพัฒนาประเทศ
ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง เกิดจากการสะสมตัวของซากพืชบกตามธรรมชาติในแอ่งตะกอนน้ำตื้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นหนองน้ำ บึง หรือพรุที่มีน้ำขัง มีพืชปกคลุมอยู่อย่างแน่หนามาก เมื่อพืชตายลงหรือทิ้งกิ่งใบสะสมตัวอยู่ในน้ำ จะเกิดการผุพังสลายตัว เหลือส่วนที่สะสมตัวทับถมกันอยู่ในที่ลุ่มชื้นแฉะ เมื่อถูกอัดทับถมกันเป็นเวลานานภายใต้ความกดดันสูง ซากพืชจะเกิดการแปรเปลี่ยนเป็นสารประกอบ0ที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลัก เกิดเป็นถ่านหิน การแบ่งชนิดและคุณภาพของถ่านหินขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอน ค่าความร้อนเมื่อเผา และลำดับการแปรเปลี่ยนสภาพ ในประเทศไทยมีถ่านหินหลายชนิดตั้งแต่ พีต ลิกไนต์ บิทูมินัส และแอนทรา
แหล่งของถ่านหินต่าง ๆที่พบในประเทศไทย

ชนิดถ่านหิน
ลักษณะ
แหล่งที่พบ
พีต
มีคาร์บอน 60%
เป็นลำดับแรกของการเกิดถ่านหิน เป็นถ่านหินที่ยังเห็นเป็นลักษณะซากพืช เมื่อแห้งจะติดไฟได้ดี เช่นเดียวกับถ่านไม้
ส่วนมากจะพบในที่ราบน้ำขึ้นถึง ป่าชายเลนพรุ และหนองน้ำ พีตที่เป็นชั้นหนามักจะพบในป่าพรุ เช่น พรุท่าสะท้อน จังหวัดสุราษฏร์ธานี พรุที่อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส
ลิกไนต์
มีคาร์บอน 55-60%
ซากพืชในพีตสลายตัวหมด ไม่เห็นโครงสร้างของพืช มีสีเข้ม เนื้อแข็ง มีความชื้นต่ำ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โรงงานไฟฟ้า ใช้บ่มใบยา
แหล่งลิกไนต์ที่ทำการผลิตแล้ว ได้แก่ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ที่คลองขนาน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ นอกจากนี้ยังพบที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
บิทูมินัส
มีคาร์บอน 80-90%
คุณภาพดีกว่าลิกไนต์ และเมื่อเผาไหม้แล้วจะให้ค่าความร้อนสูง แต่มีสารระเหิดอยู่ด้วย ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และโรงงานไฟฟ้า
พบที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
แอนทราไซต์
มีคาร์บอนมากกว่า 86%
เป็นถ่านหินที่มีการแปรสภาพสูงสุด เนื่องจากแรงกดดันและความร้อนภายใต้ผิวโลก ทำให้น้ำและสารระเหยต่าง ๆในพืชหมดไปเหลือแต่คาร์บอน มีเนื้อแข็งสีดำ วาวแบบกึ่งโลหะ มักแตกแบบก้นหอย ติดไฟยาก เมื่อเผาไหม้จะให้ค่าความร้อนสูง ให้เปลวไฟสีน้ำเงิน ไม่มีควัน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ในประเทศไทยส่วนมากเป็นเซมิแอนทราไซต์ พบที่อำเภอนาด้วง และอำเภอนากลาง จังหวัดเลย

     
         สำหรับในประเทศไทย พบถ่านหินทุกชนิด ตั้งแต่คุณภาพต่ำสุดไปถึงคุณภาพสูงสุด แต่ที่มีมากที่สุดได้แก่ ลิกไนต์ และซับบิทูมินัส พบมากที่เหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีการขุดขึ้นมาใช้ในโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วันละมากกว่า 40,000 ตัน และที่เหมืองแม่ทาน-บ้านบอม อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีปริมาณสำรอง 35 ล้านตัน ขุดขึ้นมาใช้ปีละประมาณ 1 ล้านตัน เป็นต้น นอกจากถ่านหินแล้วเรายังมีเชื้อเพลิงธรรมชาติที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง
ปิโตรเลียม














              มาจากรากศัพท์ภาษาละติน 2 คำ คือ เพตรา แปลว่าหิน โอเลี่ยม แปลว่าน้ำมัน รวมความหมายแล้วคือน้ำมันที่ได้จากหิน ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงอีกชนิดหนึ่ง เกิดจากการสะสมทับถมของซากพืชซากสัตว์ทั้งบนบกและในทะเลหรือมหาสมุทรเมื่อหลายสิบหลายร้อยล้านปีก่อน โดยเมื่อสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ตายลง บางส่วนจะเน่าเปื่อยผุพัง และเมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ซากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็ย่อยสลายลงเป็นสารอินทรีย์ และสะสมรวมตัวอยู่กับตะกอนดิน เมื่อเปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา ชั้นตะกอนนี้จะจมตัวลงเรื่อย ๆ พร้อมกับเกิดกระบวนการเปลี่ยนสภาพของสารอินทรีย์ไปตามลำดับขั้นตอน จนกระทั่งเป็นปิโตรเลียม โดยมีความร้อนและความดันภายในโลกเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลง 
ปิโตรเลียมทั้งส่วนที่เป็นของเหลวและแก๊สจะไหนซึมออกจากชั้นหินตะกอนต้นกำเนิดไปตามรอยเลื่อน รอยแตก รอยแยก และรูพรุนของหิน เช่น หินทราย หินกรวดมน หินปูน ไปสะสมรวมตัวอยู่ใต้ชั้นหินที่มีโครงสร้างปิดกั้นและมีความกดดันต่ำกว่า เรียกว่า แหล่งปิโตรเลียม โดยชั้นหินปิดกั้นด้านบนต้องมีเนื้อละเอียด เพื่อกั้นไม่ให้ปิโตรเลียมรั่วไหลออกไปได้? ซึ่งส่วนมากจะเป็นหินดินดาน และส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างเป็นรูปประทุนหรือโครงสร้างรูปโดม
แต่ถ้าบริเวณนั้นเกิดการทรุดตัว ทำให้มีแรงกดและแรงอัด ประกอบกับเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่อุณหภูมิต่ำกว่า 150 องศาเซลเซียส? สารบางส่วนจะระเหยไป เหลือแต่อินทรียสารที่มีลักษณะหยุ่น ๆคล้ายยาง ผสมคลุกเคล้ากับตะกอนดินละเอียด? ในที่สุด แข็งตัวกลายเป็นหินน้ำมัน? ซึ่งมีลักษณะคล้ายหินดินดาน มีสารอินทรีย์อุ้มน้ำมันอยู่ในเนื้อหิน? แหล่งน้ำมันแต่ละแหล่งมีอายุ ขนาด และคุณภาพต่างกัน ในประเทศไทยพบมากที่อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
แหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญ ๆในประเทศไทยได้แก่ แหล่งฝาง ซึ่งเป็นแหล่งปิโตรเลียมภาคเหนือ อยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมพลังงานทหารดำเนินการสำรวจและผลิต มีอัตราการผลิตประมาณ 1,100 บาร์เรลต่อวัน และมีปริมาณสำรองเหลืออยู่ประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรล
แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ เป็นแหล่งปิโตรเลียมบนบก ตั้งอยู่ที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันผลิตน้ำมันดิบประมาณ 18,600 บาร์เรลต่อวัน และแก๊สธรรมชาติประมาณ 60 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณีปี พ.ศ. 2541)
แหล่งแก๊สน้ำพอง เป็นแหล่งปิโตรเลียมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราการผลิตเฉลี่ยวันละ 95 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ผลิตเพื่อป้อนเป็นเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนน้ำพอง แหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เช่น แหล่งแก๊สเอราวัณ แหล่งแก๊สบงกช ซึ่งดำเนินการผลิตโดยบริษัท ปตท. ปัจจุบันผลิตแก๊สธรรมชาติวันละประมาณ 330 ล้านลูกบาศก์ฟุต แก๊สธรรมชาติเหลววันละ 4,000 บาร์เรล
นอกจากนี้ประเทศไทยยังพบปิโตรเลียมในแหล่งอื่น ๆอีก ทั้งบนบกและในทะเล โดยพบเป็นน้ำมันดิบ 406 ล้านบาร์เรล แก๊สธรรมชาติเหลว 513 ล้านบาร์เรล และแก๊สธรรมชาติ 29 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
ทรัพยากรเชื้อเพลิงที่กล่าวมานี้ รวมทั้งดิน หิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่นักเรียนได้ศึกษามาแล้ว ล้วนเป็นทรัพยากรธรรมที่มีค่าในแผ่นดินที่มนุษย์ได้นำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆกันตลอดชั่วชีวิตของเรา เราทุกคนจึงควรรักและหวงแหน ช่วยกันดูแลรักษาให้มีการใช้อย่างคุ้มค่าเหมาะสม เพราะกว่าจะมาเป็นดิน หิน แร่ ต้องใช้เวลานาน

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

โครงสร้างทางธรณีวิทยาภาคต่างๆของประเทศไทย

        
                             โครงสร้างทางธรณีวิทยาภาคต่างๆของประเทศไทย 

ลักษณะทางธรณีวิทยาภาคเหนือ 
          ภาคเหนือมีลักษณะทางธรณีวิทยา มีหินตั้งแต่มหายุคที่เก่าที่สุด คือมหายุคพรีแคมเบรียน จนถึงมหายุคใหม่ที่สุด คือ มหายุคซีโนโซอิก นอกจากนี้ยังมีทั้งหินชั้น หินอัคนี และหินแปรปรากฏอยู่ในที่ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง แสดงว่าในอดีต ภาคเหนือเคยมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่ทำให้พื้นดินกลายเป็นทะเล และทะเลกลายเป็นพื้นดินสลับกันไปมาหลายครั้งหลายหน เพราะหินแต่ละยุคนั้นจะเกิดได้ต่อเมื่อมีการทับถมของโคลนตะกอน ในแอ่งเปลือกโลกที่เป็นทะเลหรือแอ่งแผ่นดินบนทวีป ในระยะยาวเมื่อเปลือกโลกมีการเคลื่อนไหวอัดดันให้ทะเลหรือแอ่งแผ่นดินยกตัวสูงขึ้น โคลนตะกอนที่สะสมกันในแอ่งเปลือกโลกก็จะกลายสภาพเป็นหินแข็งในระยะเวลาต่อมา
          การเคลื่อนไหวของเปลือกโลก บางครั้งยังทำให้เกิดการไหลแทรกของหินละลายขึ้นมาแข็งตัวข้างบนกลายเป็นหินอัคนี รวมทั้งทำให้หินที่มีอยู่เดิมเปลี่ยนสภาพกลายเป็นหินแปร ภาคเหนือจึงมีทั้งหินตะกอน หินอัคนี และหินแปรที่มีอายุต่าง ๆกัน หินเหล่านี้มีความแข็งแกร่งไม่เท่ากัน บางชนิดสึกกร่อนผุพังได้ง่าย บางชนิดแข็งแกร่งทนทาน จึงเกิดเป็นลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกัน
          แนวที่พบหินแกรนิตส่วนใหญ่เป็นทิวเขา ได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัยกลาง ทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก ทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก และทิวเขาแดนลาว ทิวเขาเหล่านี้มีหินแกรนิตเป็นแกนอยู่ภายใน จึงเห็นหินแกรนิตโผล่ขึ้นมาบนผิวดินอยู่ทั่วไป เป็นหินแกรนิตที่เกิดขึ้นในยุคไทรแอสสิก ของมหายุคมีโซโซอิก ภูเขาหินแกรนิตที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยปุย และดอยสุเทพ
-               - ภูเขาหินปูน ส่วนใหญ่เป็นหินปูนที่เกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียนตอนปลายของมหายุคพาลีโอโซอิก ซึ่งเรียกว่า หมู่หินราชบุรี อำเภอปาย และอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างอำเภอเชียงดาว และอำเภอฝาง ระหว่างอำเภอฮอด และอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งบริเวณระหว่างจังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่ ตามบริเวณภูเขาหินปูนมีถ้ำขนาดใหญ่เกิดขึ้น
-          -เนินหินบะซอลต์ ปรากฏเป็นบริเวณลึก ๆ อยู่ 3 แห่ง ที่อำเภอแม่ทะเล อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง และที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นหินบะซอลต์ที่เกิดขึ้นในยุคเทอร์เซียรี มีภูมิประเทศเป็นเนินตี้ย ๆ ยอดราบ จัดว่าเป็นซากของภูเขาไฟในอดีต
-              - แอ่งที่ราบ เปลือกโลกถูกบีบอัดเป็นทิวเขาสูง ๆ ในขณะเดียวกันก็มีบริเวณบางส่วนที่ทรุดตัวลงกลายเป็นแอ่งแผ่นดินขนาดใหญ่และมีการทับถมของตะกอน จนเกิดเป็นแอ่งที่ราบในปัจจุบัน แอ่งที่ราบซึ่งมีตะกอนทับถมในยุคเทอร์เซียรี พบน้ำมัน หรือลิกไนต์แทรกตัวอยู่ในแอ่งแม่เมาะในจังหวัดลำปางและแอ่งลี้ในจังหวัดลำพูน แหล่งน้ำมัน ที่แอ่งฝาง ในจังหวัดเชียงใหม่
ตะกอนยุคเทอร์เซียรี มีอายุไม่มาก จึงยังไม่เปลี่ยนสภาพเป็นหินแข็ง ชั้นของกรวดทราย และดินเหนียวสลับกัน ง่ายต่อการผุพังทำลาย จนเกิดเป็นภูมิประเทศที่เรียกว่า ฮ่อมจ๊อม คือ พื้นผิวดินมีร่องน้ำเซาะมากมายกัดเซาะกลายเป็นแท่งเสาดินโผล่ระเกะระกะ ฮ่อมจ๊อมที่ขึ้นชื่อมากได้แก่ บริเวณที่เรียกว่า เสาดินในอำเภอนาน้อยจังหวัดน่าน และ แพะเมืองผี ในอำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ลักษณะธรณีวิทยาภาคตะวันตก 
           ภาคตะวันตกตอนบนมีเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนต่อเนื่องในแนวเหนือ- ใต้เทือกเขาถนนธงชัย เขตจังหวัดตากและกาญจนบุรี มีหินแกรนิตในยุคครีเตเชียสเป็นแกนกลาง และมีหินปูนกลุ่มหินราชบุรียุคเพอร์เมียน และหินปูนกลุ่มทุ่งสงยุคออร์โดวิเชียนวางตัวปิดทับหินแกรนิตที่เกิดในยุคครีเทเชียส และพบหินตะกอน หินแปรอื่นๆ
           เทือกเขตะนาวศรีเขตจังหวัดราชบุรี เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ปกคลุมด้วยหินทราย หินโคลน หินดินดานยุคคาร์บอนิเฟอรรัสและเพอร์เมียนวางตัวปิดทับหินแกรนิตในยุคครีเทเชียส หินบะซอลต์พบที่ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาค บริเวณชะอำ อ.หัวหิน เป็นหินแกรนิตและหินไนส์ทำให้มีหาดทราย ทางตะวันออกของภาคเป็นที่ราบมีการตกตะกอนน้ำพาและตะกอนทะเลยุคควอเทอร์นารี

ลักษณะทางธรณีวิทยาภาคใต้ 
          ภาคใต้มีหินแกรนิตและกลุ่มหินแกรนิตมากเช่นเทือกเขาภูเก็ตมีหินแกรนิตรุ่นใหม่ ในยุค ครีเทเซียสถูกปิดทับด้วนหินตะกอนยุคคาร์บอนิสเฟอร์รัสและเพอร์เมียน มีกลุ่มหินแก่งกระจาน กลุ่มหินราชบุรี ทำให้มีแร่ดีบุกและหาดทรายตามชายฝั่งด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ของเกาะซึ่งมีทรายขาวละเอียด เกิดจากการสลายตัวของหินแกรนิต
          บริเวณพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปทางใต้ มีความแตกต่างทางธรณีวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เขตจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง จนถึงสตูล หมู่หินตะนาวศรีและหมู่หินราชบุรีนั้น มีหินปูนปรากฏอยู่ค่อนข้างมาก จึงทำให้มีภูเขาหินปูนกระจาย จังหวัดพังงาทิวเขานี้มีหินส่วนใหญ่อยู่ในยุคแคมเบรียนเรียกว่าหมู่หินตะรุเตา ประกอบด้วยหินทรายและหินดินดานปนหินปูน และมีหินแกรนิตรุ่นใหม่ในยุคครีเทเซียสแทรกอยู่ ส่วนทางซีกตะวันออกของคาบสมุทร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรี ธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี จนถึงนราธิวาส มีตะกอนทับถมในยุคควอเตอร์นารี
          การเคลื่อนไหวของเปลือกโลก ทำให้เกิดแนวทิวเขาขึ้นในคาบสมุทร เป็นกระดูกสันหลังของคาบสมุทร ได้แก่ ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราชและทิวเขาสันกาลาคีรี ต่อมา ยังมีการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก ที่ทำให้เกิดรอยเลื่อนขนาดใหญ่ขึ้นหลายแนวรวมทั้งพื้นที่บริเวณด้านตะวันออกของคาบสมุทรมีการยกตัวสูงขึ้น ส่วนด้านตะวันตกทรุดตัวต่ำลง ทำให้เกิดภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ระหว่างชายฝั่งด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน อย่างเห็นได้ชัด

ลักษณะทางธรณีวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
          พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหินทราย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ตอนปลายยุคไทแอสซิกถึงยุคครีเทเซียส เทอร์เชียรี เรียกชื่อหินยุคนี้ว่า หมู่หินโคราช ประกอบด้วยหินทรายแป้ง หินทราย หินโคลนเป็นส่วนใหญ่ มีชั้นของหินกรวดมน หินดินดาน และเกลือหิน แทรกอยู่เป็นตอน ๆ จากอายุของหินทำให้ทราบว่าในตอนปลายมหายุคมีโซโซอิกที่ราบสูงโคราช มีตะกอนทับถมซึ่งบางชั่วเวลาแอ่งแผ่นดินนี้ได้ยุบจมลงเป็นทะเลตื้นน้ำทะเลที่ขังอยู่ในแอ่งก็เกิดการระเหยตัว กลายเป็นชั้นของเกลือหินแทรกอยู่ในชั้นหินชนิดอื่น ๆ หมู่หินโคราช มีความหนาประมาณ 4,000 เมตรวางตัวอยู่บนผิวที่เกิดจากการผุกร่อนของหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบนชั้นหินเอียงลาดสู่ใจกลางแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ตอนใต้ของที่ราบสูงโคราชมีหินบะซอลต์ยุคควอเทอร์นารีไหลคลุมกลุ่มหินโคราช ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดเลยมีความซับซ้อนทางธรณีมากมีการแทรกตัวของหินหินแกรตนิตเป็นหย่อมๆ และมีหินอัคนีภายนอกคือหินไรโอไลต์ หินแอนดีไซด์ หินบะซอลต์พุขึ้นมาเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะเนินภูเขาไฟ
          ตอนต้นของมหายุคซีโนโซอิก เกิดการบีบอัดตัวของเปลือกโลกจนเกิดเป็นทิวเขาต่าง ๆ ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศ แอ่งแผ่นดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดมีรอยเลื่อนของเปลือกโลกขึ้นตามบริเวณขอบทางด้านตะวันตก และด้านใต้ของแอ่ง ทำให้บริเวณแอ่งทั้งหมดยกตัวสูงขึ้นจากที่ราบภาคกลาง และภาคตะวันออกและมีทิวเขาเป็นแนวยาวเกิดขึ้นที่ขอบด้านทิศตะวันตก คือ ทิวเขาเพชรบูรณ์ และทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาสันกำแพง และทิวเขาพนมดงรัก พร้อมกันบริเวณตอนกลางของแอ่งแผ่นดิน เกิดการโค้งนูน มีทิศทางจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ แนวที่โค้งนูนขึ้นเป็นสันนี้ก็คือ ทิวเขาภูพาน ส่วนแอ่งที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แอ่งสกลนคร แอ่งโคราช ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ ซึ่งมีทิวเขากั้นเป็นขอบอยู่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ และเอียงลาดไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำโขง

ลักษณะทางธรณีวิทยาภาคตะวันออก
          ภาคตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลก ชาน-ไทยและอินโดจีน เชื่อมตามแนวระหว่างจังหวัดสระแก้วและจันทบุรี หินมีอายุตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบียนจนถึงตะกอนยุคควอเตอร์นารี หินมหายุคพรีแคมเบียนพบตอนกลางของภาค หินยุคไทรแอสิกพบหินอัคนีและหินชั้นเป็นแนวจากสระแก้วจนถึงจันทบุรี หินแกรนิต และหินแปรจำพวก หินไนส์ และหินซิสต์ ทางซีกตะวันตกของภาคเขตจังหวัดชลบุรี ระยอง และจันทบุรี ซีกตะวันออกของภาคในเขตจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และจังหวัดตราด เป็นหินทรายและหินปูน หินทรายแป้ง หินกรวดมน แทรกซอนขึ้นมากับหินบะซอลต์ หินไรโอดลต์ และแอนดีไซด์เป็นหย่อมๆ เนื้อดินค่อนข้างละเอียดดินเหนียว ชายฝั่งจันทบุรีและตราดมีหาดโคลนตมและหาดเลน ยังมีหินอัคนีพุหินโอลิวีนและหินบะซอลต์ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพลอยสีต่าง ๆ เช่น ทับทิม บุษราคัม ไพลิน เขตอำเภอขลุง และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรีและที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

ลักษณะธรณีวิทยาภาคกลาง
         เป็นที่ราบดินตะกอนที่กว้างที่สุดเกิดจากการเลื่อนทรุดตัวของหินเปลือกโลกตอนปลายยุคครีเทเชียสถึงต้นยุคเทอร์เชียรี และมีตะกอนจากการทับถมของธารน้ำพัดพาจากทางภาคเหนือมาสะสมกันในแอ่งแผ่นดินในยุคควอเทอร์นารีประกอบด้วยแอ่งแผ่นดิน 2 แอ่งเรียกที่ราบลุ่มภาคกลาง
  • แอ่งพิษณุโลก มีตะกอนทับถมหนา 3,500 เมตร เรียกที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบนหรือ ที่ราบลุ่มพิษณุโลกประกอบด้วยที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน
  • แอ่งเจ้าพระยา มีตะกอนทับถมหนา 7,000 เมตร เรียกที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบน หรือที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ระหว่างแอ่งมีสันนูนขวางกั้น เป็นภูเขาโดดเตี้ยๆวางตัวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ จาก อ. ลาดยาว 

ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
     ที่ตั้งและลักษณะทั่วไปของประเทศไทย
                ที่ตั้ง  ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีน มีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ดังนี้
                ตั้งอยู่ประมาณระหว่างละติจูด 5 องสา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องสา 27 ลิปดาเหนือและระหว่างลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก  หรือบริเวณซีกโลกเหนือในเขตละติจูดต่ำ ระหว่างเส้นศูนย์สูตร กับเส้นทรอปิกออกฟเคนเซอร์ นั่นเอง จึงจัดอยู่ในประเทศเขตร้อน
                จากที่ประเทศไทยทำเลที่ตั้งเป็นคาบสมุทร จึงส่งผลดีต่อการเพาะปลูกของประเทศตลอดมา และประเทศไทยตั้งอยู่ท่ามกลางดินแดนของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
                อาณาเขตติดต่อ
                1. อาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า  มีดินแดนดินต่อกับพม่าในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้รวม 10 จังหวัด แนวพรมแดนอาศัยทิวเขาและแม่น้ำเป็นเส้นกั้นเขตแดนตามธรรมชาติ
                2. อาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีพรมแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือ รวม 11 จังหวัด มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนทางน้ำที่สำคัญ ส่วนพรมแดนทางบกมีทิวเขาหลวงพระบางกั้นทางตอนบน และทิวเขาพนมดงรักบางส่วนกั้นเขตแดนตอนล่าง
                3. อาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีพรมแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก รวม 7 จังหวัด
                4. อาณาเขตติดต่อกับมาเลเซีย มีพรมแดนติดต่อกับมาเลเซีย ในภาคใต้ 4 จังหวัด มีเทือกเขาสันกาลาคีรีและแม่นำโก ลก จังหวัดนราธิวาสเป็นเส้นกั้นแดน
                5. อาณาเขตทางทะเล ติดต่อกับทะเลทั้งด้านอ่าวไทยและด้านทะเลอันดามันรวมเป็นระยะทาง 2,705 กิโลเมตร
                1 ) อาณาเขตติดต่อกับอ่าวไทย มีทั้งสิ้น 16 จังหวัด อยู่ในภาคกลาง 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวด ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคใต้ 7 จังหวัด
                2 ) อาณาเขตติดต่อกับทะเลอันดามัน มีทั้งสิ้น 6 จังหวัด อยู่ในภาคใต้
ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
                ลักษณะภูมิประเทศ คือ สภาพทั่วๆ ไปบนผิวโลก มีลักษณะทางภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ในแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป
                ปัจจัยที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ
                เกิดจากการผันแปรของเปลือกโลกเนื่องจากพลังงานภายในโลก ทำให้เปลือกโลกถูกบีบอัดยกตัวสูงขึ้นหรือทะเลต่ำลงและอีกประการหนึ่งเกิดจาก การกระทำของตัวกระทำต่างๆ
                นอกจากการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติแล้ว การกระทำของมนุษย์ก็มีส่วนในการทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศบางอย่างได้เช่น กัน แต่มีขอบเขตจำกัดกว่าการกระทำตามกระบวนการทางธรรมชาติ
ลักษณะโครงสร้างภูมิประเทศของไทย
                มี ลักษณะโครงสร้าง ภูมิประเทศที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกกับการกระทำของแม่น้ำลำธารใน ระยะเวลาที่ผ่านมา  และเขตภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของคณะกรรมการภูมิศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 6 เขตใหญ่ ดังนี้
                1. เขตภูเขาและหุบเขาภาคเหนือ  บริเวณ ที่สูงและภูเขาทั้งหมดในภาคเหนือ  ภูมิประเทศบริเวณที่สูงของภาคนี้ มีลักษณะเป็นภูเขาและหุบเขาสลับกันเป็นแนวยาว บริเวณที่สูงภาคเหนือนี้ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ
                ภาคเหนือเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญหลายชนิด อาชีพของประชากรในภาคนี้ ได้แก่ กาเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์  และการทำเหมืองแร่
                2. เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง บริเวณที่ราบตอนกลางและตอนล่างของลุ่มแม่น้ำทั้งหมดที่ไหลลงสู่อ่าวไทย จึงทำให้บริเวณแอ่งแผ่นดินที่ต่ำถูกทับถมด้วยโคลนตะกอนสูงๆ ขึ้น จนในที่สุดอยู่เหนือระดับน้ำ กลายเป็นที่ราบ ซึ่งเป็นบริเวณที่ราบกว้างขาวงที่สุดในประเทศ  เขตที่ราบภาคกลางอาจแบ่งได้เป็น 2 บริเวณ
                2.1 บริเวณที่ราบลุ่มน้ำตอนบนและบริเวณขอบที่ราบตอนล่าง
                2.2 บริเวณที่ราบลุ่มน้ำตอนล่าง
                3. เขตเทือกเขาและหุบเขาภาคตะวันตก บริเวณนี้อยู่ทางด้านตะวันตกของเขตที่ราบภาคตะวันตก ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขาและหุบเขาสลับซับซ้อน มีลักษณะเป็นเทือกเขาและหุบเขามากกว่าที่ราบซึ่งคล้ายกับภาคเหนือ  ประชากรในภาคนี้มีไม่มากนักเพราะเป็นเขตป่าเขา  ภาคตะวันตกเป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายประเภทมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ  มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม มีป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นแหล่งผลติแร่โลหะและอโลหะที่สำคัญในด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นแหล่งพลังงานน้ำมันที่นำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ได้อย่างมหาศาล
4. เขตชายฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย เป็นเขตที่มีเนื้อที่น้อยที่สุด ภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบชายฝั่งทะเล  มีฝนตกชุกและมีป่าไม้เหมือนภาคใต้และภาคเหนือมีการเพาะปลูกพืชไร่และการค้า เหมือนภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายอย่าง
                5. เขตที่ราบภาคตอวันออกเฉียงเหนือ   พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง  ลักษณะของพื้นที่เป็นแอ่งคล้ายจานลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ไปทางบริเวณ แม่น้ำโขง  แม้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด หากทางด้านทรัพยากรธรรมชาติทีสำคัญเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว อาจด้อยกว่าภาคอื่นๆ
                6. เขตคาบสมุทรภาคใต้  เป็นพื้นที่ราบ บริเวณชายฝั่งทะเล และภูเขาที่เป็นแกนหรือสันของคาบสมุทร มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศแตกต่างจากภาคอื่นๆ  อย่างชัดเจน พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเทือกเขา ซึ่งเป็นแกนกลางเขตคาบสมุทรที่สำคัญ ลักษณะชายฝั่งทางภาคใต้มีลักษณะของพื้นแผ่นดินที่มีการยกตัวสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ชายฝั่งอ่าวไทยจึงมีที่ราบชายฝั่ง เป็นบริเวณกว้างจึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของภาคใต้ ภาคใต้เป็นแหล่งที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าหลายชนิด โดยเฉพาะตามแนวชายฝั่งทะเลและน่านน้ำทั้ง 2 ด้าน  เป็นแหล่งสัตว์น้ำและแร่ธาตุที่มีความสมบูรณ์ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตพืช เศรษฐกิจที่สำคัญหลายชนิด
ลักษณะภูมิอากาศ
                ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศของประเทศไทย
                1. ที่ตั้งตามแนวละติจูด  ประเทศไทยตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร โดยมีระยะห่างตามแนวละติจูดจากเส้นศูนย์สูตรไม่มากนัก จึงได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปีและถือว่าเป็นเขตร้อน
                2. ความใกล้ไกลจากทะเล ส่วนตอนบนของประเทศอยู่ในพื้นที่แผ่นดินใหญ่ ส่วนตอนล่างเป็นคาบสุทรอยู่ติดทะเล จึงทำให้ภูมิอากาศแต่ละภาคแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิปริมาณน้ำฝนหรือฤดูกาล
                3. ลักษณะภูมิประเทศ  ที่มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ
3.1 ความสูงของพื้นที่
3.2 การวางตัวของภูเขา
3.3 ทิศทางของลมประจำ  ลมมรสุมที่พัดผ่านประเทศไทยมี 2 ชนิด ตามทิศทางลมที่พัดมาคือ
      1 ) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
      2 ) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
                องค์ประกอบของภูมิอากาศ
                1. อุณหภูมิ  อุณหภูมิในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 บริเวณอย่างกว้างๆ ตามลักษณะภูมิอากาศ คือ
                1.1 ประเทศไทยตอนบน  ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
                1.2 ประเทศไทยตอนล่าง ได้แก่ ภาคใต้ อุณหภูมิตลอดทั้งปีจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
                2. ปริมาณน้ำฝน มีค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่มักเกิดในรูปของฝนตกหนักในระยะสั้น และมักพบในเวลาเย็นหรือเช้าตรู่  การพิจารณาฝนในประเทศไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 บริเวณ คือ
                2.1 ประเทศไทยตอนบน
                2.2 ประเทศไทยตอนล่าง
                3. ฤดูกาล  ประเทศไทยแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้
                3.1 ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนเมษายน มีระยะเวลา 5 – 6 เดือน โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้พัดปกคลุมประเทศไทยแล้ว
                3.2 ฤดูหนาว เริ่ม ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์  มีระยะเวลา 3 เดือน  ในระยะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้พัดปกคลุมประเทศไทยทำให้อุณหภูมิลดลง
                3.3 ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนภุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีระยะเวลา 3 เดือน  เป็นระยะที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลง
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละภาค
ภาคเหนือ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรองลงมาคืออุตสาหกรรม
1. การเกษตรกรรม  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำป่าไม้
2. การอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขั้นต้น
3. การทำเหมืองแร่ โดยเฉพาะแร่แมงกานีส ซีไลต์ ฟลูออไรต์ และดินขาว เป็นแร่ที่ผลิตได้มากกว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ
4. การคมนาคมขนส่ง มีระบบการคมนาคมขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และทางอากาศ
5. การท่องเที่ยว  การท่องเที่ยวมีความสำคัญค่อนข้างมาก มีแหล่องท่องเที่ยว ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ภาคกลาง 
1. การเกษตรกรรม  มี แม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน และทีการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ การเลี้ยงสัตว์ จังหวัดนครปฐมเป็นแหล่งเลี้ยงสุกรที่สำคัญที่สุดของประเทศ
2. การอุตสาหกรรม  โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
3. การทำเหมืองแร่ ภาคกลางเป็นเขตหินใหม่ที่เกิดจากการทับถมของโคลนตะกอน แร่ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นแร่อโลหะและแร่เชื้อเพลิง
4. การคมนาคมขนส่ง  เป็นจุดรวมของการคมนาคมขนส่งทั้งทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ และทางอากาศ
5. การท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
1. การเกษตรกรรม  มีการเลี้ยงสัตว์มากกว่าภาคอื่นๆ นอกจากนี้ก็จะมีการทำนา การปลูกพืชไร่ที่ทนความแห้งแล้งได้ดี
2. การอุตสาหกรรม  ส่วนใหญ่เป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  โรงงานจะตั้งอยู่ในจังหวัดใหญ่ๆ ของภาค
3. การทำเหมืองแร่ มีแร่เพียง 2 –3 ชนิด จังหวัดที่มีการทำเหมืองแร่คือ เลย นครราชสีมา อุดรธานี และหนองบัวลำภู
4. การคมนาคมขนส่ง มีการคมนาคมขนส่งทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ และทางอากาศ
5. การท่องเที่ยว ที่สำคัญในภาคนี้จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
ภาคตะวันออก 
1. การเกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะมีการปลูกพืชไร่ มีการทำนาบริเวรลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำปางปะกง  มีการทำสวนผลไม้และยางพาราที่จังหวัด จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และมีการประมงทั้งประมงน้ำจืดและประมงน้ำเค็ม
2. การอุตสาหกรรม มีมากในจังหวัดชลบุรีและรองลงมาคือระยอง
3. การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญมี 3 ชนิด รัตนชาติ ทรายแก้ว พลวง
4. การคมนาคมขนส่ง มีการคมนาคมขนส่งทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ และทางอากาศ
5. การท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักจักกันดีทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ
ภาคตะวันตก
1. การเกษตรกรรม มีการทำนาบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ  การปลูกพืชไร่  การทำสวนผลไม้  การเลี้ยงสัตว์ การประมงแหล่งประมงน้ำจืดทำกันมากบริเวณเขื่อนและแม่น้ำสายใหญ่ๆ มีการทำประมงน้ำเค็มในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
2. การอุตสาหกรรม  มีการทำอุตสาหกรรมน้ำตาลมาก การผลิตเครื่องปั้นดินเผา และอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรด
3. การทำเหมืองแร่ มีทิวเขาซึ่งเป็นหินเก่าแก่มีแหล่งแร่ที่เกิดจากหินอัคนี เช่น แร่ดุก แร่ตะกั่ว แร่สังกะสี แร่เฟลด์สปาร์ แร่ฟลูออไรต์ และแร่รัตนชาติ
4. การคมนาคมขนส่ง มีการคมนาคมขนส่งทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ
5. การท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมมากในจังหวัดกาญจนบุรี สถานที่ตากอากาศตามชายฝั่งทะเล และตลาดน้ำดำเนินสะดวก
ภาคใต้
1. การเกษตรกรรม มีการปลูกข้าว แหล่งปลูกข้าวที่ดีที่สุดคือ จังหวัดนครศรีธรรมราชา พัทลุงและสงขลา ไม่ยืนต้นที่ปลูกกันมาก ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว เป็นต้น ไม้ผล ได้แก่ เงาะ ทุเรียน ลางสาด เป็นต้น มีการเลี้ยงโคและกระบือมากกว่าเขตอื่นๆ  มีการทำประมงน้ำเค็มในทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล
2. การอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงงานถลุงแร่ดีบุก  อุตสาหกรรมทำปลากระป๋อง ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้แก่ การแปรรูปไม้ เป็นต้น
3. การทำเหมืองแร่ ภาคใต้มีการผลิตแร่ที่สำคัญหลายชนิด
4. การคมนาคมขนส่ง การขนส่งทางถนน ทางหลวงสายหลักคือถนนเพชรเกษม มีการคมนาคมขนส่งทางรถไฟ ทางน้ำ และทางอากาศซึ่งเป็นบริการของบริษัทการบินไทย
5. การท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ มีธรรมชาติสวยงามทั้งที่เป็นเกาะ ถ้ำ น้ำตก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ หาดใหญ่ ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี สมุย